• Home
• Products & Services
• News & Activities
• Download
• Webboard
FAQ
Contact Us
• Related VDO
 
  Username
:
  Password
:
     

 

Company Profile
Smart's Team
Awards & Certification
Career Options
Smart's Location
 
 
 
  Join our mailling list, stay tuned with latest updates
 
     
 
03/11/2017
View: 166929 
e-Tax Invoice เรื่องต้องรู้ในธุรกิจยุค “e-Business”

� � � �เมื่อเอกสารสำคัญในการทำบัญชีอย่าง “ใบกำกับภาษี (Tax Invoice)” หนึ่งในเอกสารในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน
เพื่อยื่นแบบแสดงรายการ ภ.พ. 30 และหลักฐานประกอบการบันทึกรายการบัญชีของกิจการ
เมื่อใบกำกับภาษีจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบเป็น“ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์” หรือ e-Tax Invoice”
เจ้าของธุรกิจต้องรู้และเตรียมพร้อมอย่างไรบ้าง

� � � �รู้จัก “e-Tax Invoice”

� � � �“e-Tax Invoice” หรือ “ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์” คือใบกํากับภาษีที่ปรับรูปแบบจากที่เคยเป็นกระดาษไปเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
หากดูจากจุดที่แตกต่างคือ e-Tax Invoice จะมีหมายเลขใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Certificate) และลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature)
เป็นเครื่องยืนยันตัวตนของผู้ออกใบกำกับภาษี (ผู้ขาย) และรับรองถึงความถูกต้องของข้อมูล

� � � �ข้อดีของ e-Tax Invoice

� � � �• เจ้าของธุรกิจจะลดภาระในการจัดเตรียมเอกสารเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะเมื่อกรมสรรพากร
ได้รับข้อมูลภาษีซื้อ-ภาษีขายทางอิเล็กทรอนิกส์ครบถ้วนแล้ว ระบบจะจัดทำรายงานภาษีซื้อ-ภาษีขาย
ได้โดยอัตโนมัติ (Electronic VAT Report)

� � � �• ลดต้นทุนในการจัดทำเอกสารใบกำกับภาษีและใบรับจากกระดาษเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์

� � � �• สะดวก ประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บเอกสาร

� � � �ขั้นตอนการใช้ e-Tax Invoice

� � �1.เช็กคุณสมบัติว่ามีสิทธิ์ใช้ “e-Tax Invoice”

� � � � • บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด มีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป …..
ล่าสุด ระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2560
ได้ยกเลิกระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการจัดทำดังกล่าว ฯ พ.ศ.2555 ฉบับเดิม
โดยมีการปรับปรุงเงื่อนการจัดทำฯ ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้
คือ ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลสามารถยื่นคำขอจัดทำฯ ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ได้
จากเดิมต้องเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่มีทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 10 ล้านบาท เป็น ผู้ยื่นคำขอดังกล่าวมีทุนจดทะเบียนเท่าใดก็ได้

� � � � • มีความมั่นคงและความน่าเชื่อถือในการประกอบการ เช่น มีประวัติการเสียภาษีที่ดี ไม่มีพฤติการณ์หลีกเลี่ยงภาษี
ไม่มีประวัติการใช้ใบกำกับภาษีปลอม หรือมีทรัพย์สินสุทธิมากกว่าหนี้สินสุทธิ

� � � � • มีการจัดทำบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด

� � � � • มีระบบการควบคุมภายในที่ดี และสามารถพิสูจน์ได้ว่าใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์
ที่จัดทำและส่งให้แก่ผู้รับมีข้อความถูกต้องครบถ้วนเช่นเดียวกับขณะที่สร้าง ส่งและรับ
โดยใช้วิธีการที่เชื่อถือได้ และสามารถแสดงข้อความได้ในภายหลังโดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งต้องมีระบบงานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงโดยไร้ร่องรอย
หรือมีการเปลี่ยนแปลงรายการในเอกสารที่ออกระหว่างทาง

� � 2.ยื่นคำขอ

เมื่อเช็กคุณสมบัติแล้วว่าครบถ้วนก็สามารถยื่นคำขอและเอกสารดังต่อไปนี้

� � � � 1.ยื่นคำขอทางอินเทอร์เน็ต : ยื่นคำขอ แบบ บอ.01 ผ่านทางเว็ปไซต์กรมสรรพากร

� � � � 2.ส่งเอกสาร : ดังต่อไปนี้ไปที่สำนักบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ยื่นคำขอ

� � � � �• แบบคำขอจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (บ.อ.01)

� � � � �• หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่นายทะเบียนออกให้ไม่เกิน 6 เดือนนับถึงวันส่งเอกสาร

� � � � �• สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทหรือหน่วยงานของรัฐ

� � � � �• หนังสือมอบอำนาจ พร้อมทั้งสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นจัดส่งเอกสาร)

� � � � �• แผนผังการทำงานรวมของระบบงานทั้งหมด (System Flowchart) และคำอธิบายระบบงาน ระบบรักษาความปลอดภัย และวิธีการเรียกพิมพ์

� � � � �• กรณียื่นคำขอเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับการขายสินค้าหรือให้บริการบางส่วน
ให้ส่งแผนผังกระบวนการทางธุรกิจ (Business Process) ของการขายสินค้าหรือให้บริการนั้น

� �� การออก “e-Tax Invoice”

เมื่อได้รับสิทธิ์ใช้ e-Tax Invoice เรียบร้อยแล้วให้ดำเนินการดังนี้

� � � � � 1.จัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีการลงลายมือชื่อดิจิทัลทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือให้บริการส่งมอบ
ให้กับผู้ซื้อสินค้าและผู้รับบริการด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ และจัดเตรียมข้อมูลใบกำกับภาษีหรือใบรับในรูปแบบโครงสร้าง XML File
ตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งมีการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) สำหรับนำส่งกรมสรรพากร

� � � � � 2.นำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรด้วยช่องทางการนำส่ง ได้แก่ Host to Host หรือ Service Provider หรือ Upload XML
ทั้งนี้วิธีการเลือกช่องทางนำส่งขึ้นอยู่กับขนาดของกิจการและความพร้อมทางเทคโนโลยีของผู้ประกอบการแต่ละราย

� � � � � 3.ติดตามและตรวจสอบผลการนำส่งข้อมูล ที่ระบบ Tracking

� � � � � 4.เก็บรักษาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ถูกต้องปลอดภัยตาม พ.ร.บ.ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

� ��การเริ่มต้นใช้งาน

� � � � � ระบบ e-Tax Invoice ระบบใหม่เริ่มใช้งานใช้งานตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่าน
หลังเปิดให้ใช้งานไประยะหนึ่งจะเริ่มกำหนดให้ผู้ประกอบการแต่ละขนาดต้องเข้าใช้ระบบทุกราย
โดยเริ่มจากผู้ประกอบการขนาดใหญ่และขนาดกลางเป็นลำดับแรก สำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็กจะกำหนดให้ต้องเข้าใช้ระบบทุกรายเป็นลำดับต่อไป
ซึ่งคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในปี พ.ศ. 2564 ที่จะถึงนี้

ขนาดผู้ประกอบการ รายได้ เริ่มเข้าระบบ e-Tax invoice
ขนาดใหญ่ มากกว่า 500 ล้านบาท ภายใน 31 ธันวาคม 2560
ขนาดกลาง มากกว่า 30 ล้าน แต่ไม่เกิน 500 ล้านบาท ภายใน 31 ธันวาคม 2560
ขนาดเล็ก มากกว่า 1.8 ล้าน แต่ไม่เกิน 30 ล้านบาท ภายใน 31 ธันวาคม 2562
ขนาดไมโคร มากกว่า 1.8 ล้าน ภายใน 31 ธันวาคม 2564

� � � � �จะเห็นได้ว่า การออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ยังคงใช้รูปแบบเดิมเพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบจากส่งมอบ “กระดาษ“ เป็น “ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์” แม้ช่วงแรกจะต้องเรียนรู้และปรับตัวบ้าง แต่ในอนาคตวิธีนี้จะเพิ่มความสะดวกสบาย ประหยัดเวลาและทรัพยากร สอดคล้องกับนโยบาย National e-Paymen ในยุค Thailand 4.0 อย่างแน่นอน

� ข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่ : เว็บกรมสรรพากร

� : ขอขอบคุณบทความดีๆจาก เว็บไซต์ธรรมนิติ : www.dharmniti.co.th



 
 
{ back }
 
 
 
   
 
 
 
Total Visitor: 01345254
Top 
Copyright © 2006 Smart Consulting All Rights Reserved.
site by MindDezign